

SPORTS MANIA

ระหว่างวันที่ 8 ถึง 20 ส.ค.นี้ ซึ่งเป็นช่วงคาบเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬา ซีเกมส์ ที่ มาเลเซีย พอดี จะมีบาสรายการใหญ่ FIBA Asia Cup 2017 แข่งขันที่กรุง เบรุต,เลบานอน โดยมี 16 ทีมเข้าร่วม เรามาดูเกร็ดที่น่าสนใจกับการแข่งขันครั้งนี้กันดี กว่า
FIBA Asia Cup หรือชื่อเดิม FIBA Asia Championship แข่งกันทุก 2 ปี เริ่มครั้งแรกในปี 1960 และรายการนี่ถือเป็นรายการเพื่อคัดเลือกเข้าแข่งขัน FIBA Basketball World Cup และ Olympic ก่อนยุติลงใน 2 หนหลัง 2013 กับ 15
มาปีนี้ 2017 เปลี่ยนชื่อมาเป็น FIBA Asia Cup และเป็นครั้งแรกที่ แชมป์ รายการนี้จะไม่ได้สิทธิใด ๆ ทั้งสิ้น และถือเป็น 1 รายการคู่กับ FIBA Oceania Championship นอกเหนือ
จากจะเป็นครั้งสุดท้ายด้วยที่รายการนี้จะแข่งขันแบบ 2 ปีครั้ง เพราะ หลังจากนี้ FIBA จะปรับให้ FIBA Asia Cup เหมือนการแข่งขันรายการ EuroBasket, AfroBasket และ Americas Championship ที่จะจัดกัน 4 ปีครั้งหรือ 2 ปีหลังจบ FIBA World Cup.
เริ่มแข่งครั้งแรกในปี 1960 ที่ มนิลา และ เจ้าภาพประเดิมคว้าแชมป์ (2.ไต้หวัน,3.ญี่ปุ่น) สำหรับ ไทย เคยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพรายการนี้ 3 ครั้งในปี 1969 (6),1975 (6) และครั้งสุดท้าย 1987 (8) และเคยทำผลงานดีสุดคือ อันดับ 4 ในปี 1963 (เจ้าภาพ ไต้หวัน) และ 1965 (มาเลเซีย) และนี่คือ การคัดเลือกแต่ละภูมิภาคที่ผ่านมา
เจ้าภาพ เลบานอน
Central Asian คาซัคสถาน
East Asian ไต้หวัน,เกาหลีใต้,ญี่ปุ่น,จีน,ฮองกง
Gulf กาตาร์
West Asian อิหร่าน,จอร์แดน,อิรัค,ซีเรีย
Southeast Asian ฟิลิบปินส์
South Asian อินเดีย
Wild Cards ออสเตรเลีย,นิวซีแลนด์
การแข่งขันครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 4 ทีมดังต่อไปนี้
A B C D
อิหร่าน อิรัค คาซัคสถาน ญี่ปุ่น
จอร์แดน จีน เลบานอน ฮองกง
ซีเรีย ฟิลิบปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน
อินเดีย กาตาร์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย
ที่ผ่านมา จีน กลายเป็นชาติที่ประสบความสำเร็จกับรายการนี้มากสุด พวกเขาคว้าแชมป์รวมกันมาแล้ว 16 ครั้ง นับแต่เริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกในปี 1960 รองลงมาก็เป็นเพื่อนบ้านในชาติ อาเซียน ของเราเอง ‘Gilas Pilipinas’ หรือ ฟิลิบปินส์ นั้นเอง และนี้คือ ตารางอันดับของทีมที่ประสบความสำเร็จกับรายการนี้ที่ผ่านมา
ประเทศ ทอง เงิน แดง รวม
1.จีน 16 1 2 19
2. ฟิลิบปินส์ 5 4 1 10
3. อิหร่าน 3 0 1 4
4. เกาหลีใต้ 2 11 11 24
5.ญี่ปุ่น 2 5 7 14
6.เลบานอน 0 3 0 3
7.ไต้หวัน 0 2 2 4
8.จอร์แดน 0 1 1 2
9.เกาหลีเหนือ 0 1 0 1
10.กาตาร์ 0 0 2 2
11.ซาอุดิอาระเบีย 0 0 1 1
รวม 28 28 28 84
ส่วนการแข่งขันครั้งนี้ ออสเตรเลีย ที่ได้สิทธิ wildcard หรือแขกรับเชิญร่วมกับ นิวซีแลนด์ กลายเป็นชาติที่มีอันดับโลกใน Fiba Ranking สูงสุดคือ อันดับ 10 รองลงมาก็คิอ จีน พี่ใหญ่ของวงการกีฬาของ เอเชีย นั้นเอง ขณะที่ อิรัค กลายเป็นชาติที่ไม่มีอันดับใน Fiba Ranking เพียงชาติเดียวที่หลุดเข้ามาเล่นรอบสุดท้ายได้ ส่วนชาติที่ อันดับ ต่ำสุดที่ลงแข่งรายการนี้คือ ซีเรีย นั้นที่รั้งอันดับ 72 นั้นิเอง
ใช้เพียงแค่นั้นเมื่อกลับมาดูความ ‘สูง’ เฉลี่ยของแต่ละทีมก็พบว่า ทีมจากกำแพงเมือง จีน เป็นทีมที่มีผู้เล่น ‘เฉลี่ย’ สูงสุดในรายการนี้อยู่ที่ 201 ซ.ม.หรือ 6 ฟุต 7 นิ้ว โดยมีทีมจากแดน จิงโจ้ ออสเตรเลีย ที่เป็นแค่ 1 ใน 2 ทีมเท่านั้นที่ผู้เล่นเฉลี่ยสูงถึง 200 ซ.ม. รั้งอันดับ 2 ต่างกันแค่ 1 ซ.ม. เท่านั้น ส่วนชาติที่มีผู้เล่น ‘ต่ำสุด’ ในครั้งนี้คือ ฮองกง กับฟิลิบปินส์ ที่อยู่ระหว่าง 188 กับ 189 ซ.ม.หรือราว ๆ 6 ฟุต 2 นิ้ว
และนี่คือ จำนวนทีมที่ผู้เล่นมีความ ‘สูง/ต่ำ’ เฉลี่ยแตกต่างกันออกไป
สูง จำนวน
200 /6--7 2 ทีมคือ ออสเตรเลีย กับ จีน
191/6-3 และ 199/6-6 12 ทีม
188/6-2 และ 189/6-2 2 ทีมคือ ฮองกง กับ ฟิลิบปินส์
ส่วนเรื่อง ‘อายุ’ ฮองกง กลายเป็นชาติที่ ‘อายุ’ ผู้เล่นเฉลี่ยมากสุดอยู่ที่ 29 ปีโดยมีผู้เล่นถึง 4 คนที่อายุอยู่ในช่วง 30 หรือมากกว่า โดยมีทางด้าน นิวซีแลนด์ กลายเป็นทีมที่มีผู้เล่นเฉลี่ยอายุน้อยสุดโดยไม่มีผู้เล่นคนไหนอายุเกิน 30 แม้คนเดียว
ขณะที่ผู้เล่นอายุมากสุดของรายการนี้ตกเป็นของ ฟาดิ อัล คาห์ทิบ ผู้เล่นในตำแหน่ง SF ของเจ้าบ้านที่อายุมากสุดถึง 38 ส่วนผู้เล่นอายุน้อยสุดคือ บาลัดฮาเนสวาร์ พอยยาโมซี PG ชาว อินเดีย ที่อายุแค่ 17 ปีเท่านั้น รองลงมาเป็น คาห์เล โคห์รี SF จาก ซีเรีย อายุ 19 และเป็นแค่ 2 คนเท่านั้นที่อายุไม่ถึง 20
และนี่คือ จำนวนทีมที่ผู้เล่นมี ‘อายุ’เฉลี่ย แตกต่างกันออกไป
อายุ จำนวน
29 1-ฮองกง
28 6 -ซีเรีย,อิรัค,ญี่ปุ่น,เลบานอน,ฟิลิบปินส์,ออสเตรเลีย
27 1-ไต้หวัน
26.... 6-กาตาร์,คาซัค,เกาหลีใต้,อิหร่าน,จีน,จอร์แดน
24.... 1-อินเดีย
23.... 1-นิวซีแลนด์
ประเทศ R C F A 30
ออสเตรเลีย 10 200 6-7 28 3
จีน 14 201 6-7 26 2
นิวซีแลนด์ 20 197 6-6 23 -
อิหร่าน 25 199 6-6 26 1
ฟิลิบปินส์ 27 189 6-2 28 3
จอร์แดน 28 193 6-4 26 2
เกาหลีใต้ 30 196 6-5 26 3
เลบานอน 43 194 6-4 28 4
ไต้หวัน 48 193 6-4 27 2
ญี่ปุ่น 48 191 6-3 28 3
อินเดีย 53 195 6-5 24 1
คาซัคสถาน 56 196 6-5 26 3
ฮองกง 65 188 6-2 29 4
อิรัค - 196 6-5 28 4
กาตาร์ 50 193 6-4 26 3
ซีเรีย 72 196 6-5 28 2
หมายเหตุ : R=อันดับ Fiba,C=ซ.ม.,F=ฟุต,A=อายุ,30=จำนวนผู้เล่นอายุ 30 ที่อยู่ในทีม
ขณะ จีน และ ออสเตรเลีย เป็นแค่ 2 ชาติที่ผู้เล่นความสูง‘เฉลี่ย’ อยู่ที่ 201 ซ.ม.หรือ 6 ฟุต 7 นิ้ว แต่ถ้าดูลึกลงไปในรายละเอียดแต่ละ ‘ตำแหน่ง’ กลับพบว่าทั้ง 2 ชาติที่ว่ากลับไม่ได้กุมความได้เปรียบแต่อย่างไร
ในตำแหน่ง Guard (G)ไม่ว่าเป็น PG หรือ SG จีน ที่หนีบผู้เล่นในตำแหน่งนี้มาถึง 5 คนมีความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 191.6 ซ.ม. โดยมี คาซัคสถาน ที่นำมา 5 คนเช่นกันรั้งอันดับ 2 อยู่ที่ 191.2 ซ.ม. ขณะที่ ออสเตรเลีย หล่นไปอยู่ที่ 4 (190) ส่วนชาติที่มีผู้เล่นในตำแหน่ง G ความสูงเฉลี่ยเสียเปรียสุดคือ ฮองกง ที่นำ G มาถึง 6 คนแต่ความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 180.1 ซ.ม
สำหรับผู้เล่น ไอแซ็ค เลอทัว ของ นิวซีแลนด์ กลายเป็นผู้เล่นในตำแหน่ง G ที่สูงสุดในรายการนี้ 183 ซ.ม. หรือ 6 ฟุต โดยมีทางด้าน ยูกิ โทกาชิ G จากแดนปลาดิบเตี้ยสุดอยู่ที่ 167 ซ.ม. หรือ 5 ฟุต 6 นิ้ว
G จำนวน (H) G จำนวน (H)
1-จีน 5 (191.6) 9-อินเดีย 5 (185.6)
2-คาซัคสถาน 5 (191.2) 10-จอร์แดน (11) 6 (185.1)
3-เกาหลีใต้ 4 (190.7) 11-ซีเรีย (11) 4 (185)
4-ออสเตรเลีย 4 (190) 12-ญี่ปุ่น 7 (184.2)
5-เลบานอน (10) 5 (189.4) 13-กาตาร์ (11) 6 (183.6)
6-อิหร่าน 4 (187.2) 14-ไต้หวัน 3 (182)
7-นิวซีแลนด์ (11) 4 (187) 15-ฟิลิบปินส์(11) 5 (181.2)
8-อิรัค 5 (188.6) 16-ฮองกง 6 (180.1)
หมายเหตุ : H-A= ความสูงเฉลี่ย ,(10)= จำนวนผู้เล่นทั้งหมดของทีมนั้น ส่วนที่ไม่มีตัวเลขหมายถึงพามา 12 คนตามที่ Fiba กำหนดไว้
ส่วนตำแหน่ง Forward (F) ไม่ว่าเป็น Small หรือ Power Forward กลับกลายเป็น กาตาร์ (203.6) ที่ความสูงเฉลี่ยของผู้เล่นในตำแหน่งนี้(ซึ่งนำมา 3 คนเท่านั้น)ได้เปรียบทุกชาติรวมถึง จีน กับออสเตรเลีย ด้วย ขณะที่ ฟิลิบปินส์ กลายเป็นชาติที่มีผู้เล่นตำแหน่ง F เสียเปรียบสุดเมื่อสูงเฉลี่ยแค่ 191.5 ซ.ม.เท่านั้น
ขณะที่ผู้เล่นในตำแหน่ง F ที่สูงสุดในรายการนี้คือ อันทอน พอนโนมาเรฟ ของ คาซัคสถาน ที่สูงถึง 209 ซ.ม.หรือ 6 ฟุต 10
F จำนวน (H) F จำนวน (H)
1-กาตาร์ 3 (203.6) 9-เลบานอน (10) 4 (198)
2-นิวซีแลนด์ (11) 7 (202) 10-อินเดีย 4 (197.7)
3-จีน 3 (201) 11-ญี่ปุ่น 3 (195.6)
4-จอร์แดน (11) 4 (200.5) 12-เกาหลีใต้ 4 (195.5)
5-ซีเรีย (11) 6 (200) 13-ไต้หวัน 6 (194.5)
6-อิหร่าน 5 (199.6) 14-คาซัคสถาน 4 (193.5)
7-ออสเตรเลีย 4 (199.5) 15-ฮองกง 4 (193.5)
8-อิรัค 4 (198.5) 16-ฟิลิบปินส์ (11) 4 (191.5)
ส่วนตำแหน่ง เซ็นเตอร์ (C) โดยส่วนใหญ่เกือบทุกทีมจะหอบ C ที่มีความสูงเฉลี่ยที่ 200 ซ.ม. แต่ในจำนวนที่ว่ามี 4 ชาติคือ จีน (มาเฉา หลี),อินเดีย (ซัตนัม ซิงห์ บาห์รามา),อิหร่าน (ฮาเหม็ด ฮาดาดี) และ ซีเรีย (อับดุลวาฮับ อัล ฮัมวี) ที่ C สูงสุดคือ 218 ซ.ม.หรือ 7 ฟุต 2
ในทางกลับกัน นิวซีแลนด์ กลายเป็นทีมเดียวของรายการนี้ที่ไม่หรนีบผู้เล่นในตำแหน่ง C แต่อาศัยการเล่นแบบ smallball แทนนั้นเอง
C จำนวน (H) C จำนวน (H)
1-อิหร่าน 3 (213.6) 9-เลบานอน (10) 1 (204)
2-จีน 4 (211.7) 10-ฟิลิบปินส์ (11) 2 (203)
3-อินเดีย 3 (210.3) 11-คาซัคสถาน 2 (202.5)
4-ออสเตรเลีย 4 (209.7) 12-ไต้หวัน 3 (201.6)
5-จอร์แดน (11) 1 (208) 13-เกาหลีใต้ 4 (201.5)
6-อิรัค 3 (207) 14-ซีเรีย (11) 1 (201)
7-ญี่ปุ่น 2 (206) 15-ฮองกง 2 (200.5)
8-กาตาร์ (11) 2 (205.5) 16.นิวซีแลนด์ (11) -
ทำเนียบแชมป์ 3 ปีหลังพร้อมสรุปผลการแข่งขันที่ผ่านมา
2017 2015 ผล 2013 ผล 2011 ผล
จีน 1.จีน 9–0 1.อิหร่าน 9–0 1.จีน 9–0
ฟิลิบปินส์ 2.ฟิลิบปินส์ 7-2 2.ฟิลิบปินส์ 7–2 2.จอร์แดน 5–4
อิหร่าน 3.อิหร่าน 7–2 3.เกาหลีใต้ 7–2 3.เกาหลีใต้ 7–2
ญี่ปุ่น 4. ญี่ปุ่น 5–4 4.ไต้หวัน 6–3 4.ฟิลิบปินส์ 6–3
เลบานอน 5.เลบานอน 5–4 5.จีน 6–3 5.อิหร่าน 8–1
เกาหลีใต้ 6.เกาหลีใต้ 5–4 6.กาตาร์ 5–3 6.เลบานอน 4–5
กาตาร์ 7.กาตาร์ 4–5 7.จอร์แดน 4–5 7.ญี่ปุ่น 5–4
อินเดีย 8.อินเดีย 3–6 8.คาซัคสถาน 3–6 8.ไต้หวัน 4–5
จอร์แดน 9.จอร์แดน 5–3 9.ญี่ปุ่น 3–4 9.ซีเรีย 4–4
ซีเรีย 10.ปาเลสไตน์ 4–4 10.ฮองกง 1–6 10.UAE 2–6
คาซัคสถาน 11.คาซัคสถาน 2–6 11.อินเดีย 2–6 11.มาเลเซีย 3–5
ฮองกง 12. ฮองกง 1–7 12.บาห์เรน 2–6 12.อูเบกิสถาน 1–7
ไต้หวัน 13.ไต้หวัน 3–2 13.ซาอุดิอารเบีย 1–3 13.อินโดนีเซีย 2–3
ออสเตรเลีย 14.คูเวต 1–4 14.ไทย 1–4 14.อินเดีย 1–4
นิวซีแลนด์ 15.สิงคโปร 1–4 15.มาเลเซีย 0–4 15. บาห์เรน 1–4
อิรัค 16.มาเลเซีย 0–5 -- 16 .กาตาร์ 0–5




ออสเตรเลีย แขกรับเชิญหมายมั่นปั้นมือจะคว้าแชมป์ฺกลับบ้านให้ได้ในครั้งนี้
หลังพลาดหวังมาแล้ว 2 หนครั้งนี้ ฟิลิบปินส์ หวังสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์ให้ได้
