

SPORTS MANIA

ที่ มนิลา,ฟิลิบปินส์ : ขณะเหลืออีก 1 วัน ก่อนบาสรายการ SEABA Championship 2017 จะเริ่มขึ้นสื่อ ต่างประกาศได้ประเมินการแข่งขันครั้งนี้ว่ามี ทีมไหน ? บ้างที่จะบุกไปต่อกรกับเจ้าบ้าน ฟิลิบปินส์ หรือ Gilas Pilipinas ว่าที่เต็งแชมป์ในครั้งนี้ได้อย่างสูสี
หลายคนอาจมองว่าศึกครั้งนี้เจ้าบ้าน ฟิลิบปินส์ ที่คว้าแชมป์รายการนี้มาแล้ว 7 จาก 11 ครั้งและไม่เคย ‘แพ้’ ใคร ! มาตั้งแต่ปี 1996 จะหยิบแชมป์แบบง่ายดาย แต่ในความเป็นจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้น เนื่องจากที่ผ่าน วงการบาสในแถบเพื่อนบ้านอาเซียนต่างมีพัฒนาการที่ดีขึ้นจนเรียกได้ว่าไล่ตาม ฟิลิบปินส์ แบบติด ๆ เลยก็ว่าได้ ที่สำคัญแม้ ฟิลิบปินส์ จะเป็นเจ้าภาพแต่พวกเขาก็เจอปัญหาหลายอย่างก่อนทำการประกาศรายชื่อผู้เล่นชุดสุดท้ายออกมาได้
โค้ช ชอต เรเยส ของเจ้าบ้านต้องปวดหัวคอยเช็คอาการบาดเจ็บของผู้เล่น และรอถึงวินาทีสุดปลายเดือนที่แล้ว ถึงประกาศรายชื่อผู้เล่น 12 คนสุดท้ายออกมา นำโดยเซ็นเตอร์ตัวเก่งลูกครึ่ง ฟิลิบปินส์&สหรัฐ อังเดร แบลทช์ อดีตผู้เล่น วอชิงตัน วิซาร์ดส์ และนิวเจอร์ซีย์ เน็ตส์ นอกเหนือจากดาวดังอย่าง เธอร์เรนซ์ โรเมโอ,คัลวิน อบูเอวา กับเจ้าของตำแหน่ง PBA MVP 3 สมัย จูน มาร์ ฟายาร์โด และ PG ที่ได้รับการยกว่างดีสุดของเอเชียอย่าง เจย์ซัน คาสโตร และผู้เล่นสูงใหญ่อีก 3 คนอย่าง เจเพท อกุยยาร์,ทรอย โรซารีโอ และ เรย์มอนด์ อัลมาซาน
ไม่ต่างจากกีฬาทุกประเภทเหตุการณ์ ‘พลิกล็อค’ เกิดขึ้นได้เสมอไม่ยกเว้นแม้ Gilas Pilipinas ที่เกือบแพ้ ไทย ในการแข่งขันบาสรายการ SEABA Stankovic Cup เมื่อปีที่แล้ว ขณะที่ทีมคู่แข่งอื่น ๆ อย่าง อินโดนีเซีย และสิงคโปร ก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งต้องขอบคุณรายการ ASEAN Basketball League หรือ ABL ที่กลายเป็นรายการเปิดโอกาสให้บรรดาสโมสรในชาติสมาชิกอาเซียนได้ส่งทีมเข้าร่วมเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และนี่คือ การรวบรวมข้อมูลของแต่ละชาติที่ลงแข่งขันในครั้งนี้
เมียนมา (ไม่เคยลงแข่ง SEABA).......ทีมบาส เมียนมา ที่ใช้บริการโค้ช
ชาว มาเลเซีย เฮงค์ เทียน ค๊อต นำโดย คุน ยี ผู้เล่นที่สูงสุดของทีม 6 ฟุต 5
นอกจากนั้น เมียนมา ยังกลายเป็นทีมที่มีผู้เล่นเฉลี่ยอายุน้อยสุดด้วยราว 20
ปีเท่านั้น
รายการนี้ เมียนมา ถูกยกเป็นทีมรองบ่อน เนื่องจากขาดประสบการณ์กับการลงแข่งระดับ
นานาชาติมานาน หลังส่งทีมแข่ง เอเชียน เกมส์ 2 ครั้งในปี 1951 และ 1966 ซึ่ง ณ เวลานั้นยัง
ใช้ชื่อประเทศว่า พม่า 45 ปีให้หลัง พม่า ที่เปลี่ยนชื่อประเทศใหม่เป็น เมียนมา ถึงได้ส่งทีมบาส
เข้าร่วมการแข่งขัน ซีเกมส์ ที่ จาการ์ตา และล่าสุดยัง สิงคโปร เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ที่ซึ่งพวกเขาแพ้
คู่แข่งเฉลี่ย 50.5 คะแนนต่อเกมรวมถึงที่ถูกเจ้าภาพ สิงคโปร ยำใหญ่ถึง 98 คะแนน
เวียดนาม
ผลงานดีสุด : อันดับ 4 ปี 2003
ปี 2015 : ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
ผู้เล่นกำลังสำคัญ : เทียว ฮัน มิน,ตรัง วู ลิน
เวียดนาม กลายเป็นชาติที่วงการบาสพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วชาติหนึ่งในแถบอาเซียน
ดูได้จากการที่พวกเขาจัดตั้ง ลีกอาชีพ นอกเหนือจากสมาคมยังผลักดันส่งสโมสรอย่าง ไซง่อน
ฮีต เข้าร่วมการแข่งขัน ABL และที่แสดงให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังคือ การควานหาบรรดา
ผู้เล่นลูกครึ่งที่ไปเติบโตยังต่างแดนอย่าง แทม ดินห์ หรือโฮเรซ เหงียน (ไม่ติดทีมลงแข่งครั้ง
นี้) ทำให้วงการบาส เวียดนาม มีสีสันมากขึ้น
น่าเสียดายที่หนนี้โค้ช ดอนเต้ ฮิลล์ ไม่เรียกใช้บริการลูกครึ่งทั้ง 2 แต่เน้นไปที่ผู้เล่นท้อง
ถิ่นเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม สำหรับการแข่งขันครั้งนี้อาจเร็วเกินไปที่จะยกให้ เวียดนาม ขึ้นมาเป็นทีมลุ้นแชมป์ แต่ในอนาคตข้างหน้าพวกเขาจะกลายเป็นทีม ม้ามืด ที่จะมองข้ามไปไม่ได้แน่
มาเลเซีย
ผลงานดีสุด : อันดับ 3 ปี 2001,2013,2015
ปี 2015 : อันดับ 2
ผู้เล่นกำลังสำคัญ : ชู เหว่ย ฮองค์,เทียว ค๊อต ฮัว,ทิงค์ ชุน ฮองค์
จริงแล้ว มาเลเซีย ควรเป็นผู้ท้าชิงตัวจริงกับ Gilas Pilipinas ในครั้งนี้ ถ้าพวกเขา
ส่งผู้เล่นดีสุดหรือชุด A เข้าร่วมการแข่งขันแทนเป็นทีมดาวรุ่ง นอกเหนือจากการโค้ช คริส
โทมาส ที่เป็นคนสร้าง โกะ เชงค์ ฮวต จนมีชื่อเสียงขึ้นมา ก็ไม่ได้คุมทีมมาด้วยตัวเองด้วย
3 ผู้เล่นที่จะแบกภาระทีมในครั้งนี้ คงไม่หนี 3 คนที่มีประสบการณ์กับการลงแข่ง ABL
มาแล้วอย่าง ชู เหว่ย ฮองค์,เทียว ค๊อต ฮัว,ทิงค์ ชุน ฮองค์ ส่วนคนอื่น ๆ ที่เหลือบางคนเล่นใน PBA D-ลีก
สิงคโปร
ผลงานดีสุด : อันดับ 3 ปี 2001,2013,2015
ปี 2015 : อันดับ 3
ผู้เล่นกำลังสำคัญ : เดลวิน โกห์,หวอง เว่ยลองค์,ลีออน เควก
เมื่อ มาเลเซีย ไม่ได้ส่งทีมที่ดีสุดลงแข่ง นั้นทำให้ผู้ท้าชิงของ Gilas Pilipinas
จึงเปลี่ยนเป้าไปยัง สิงคโปร แทน ผู้เล่นอย่าง หวอง เว่ยลองค์,ฮันบิน นา และลีออน
เควก ไม่ได้เกรงกลัวบรรดายักษ์ใหญ่ที่สูง 2 ม.แต่อย่างไร นอกจากนั้นพวกเขายังมี เดล
วิน โกห์ ที่คอยคุมและเปลี่ยนเกมได้ตลอดเวลา สิงคโปร ถูกคาดหมายว่าพวกเขาไม่หนี
การเป็น 1 ใน 3 ทีมท็อปลำดับต้น ๆ ของการแข่งขันครั้งนี้แน่นอน
ไทย
ผลงานดีสุด : แชมป์ 2013
ปี 2015 : ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
ผู้เล่นกำลังสำคัญ : ชิดชัย อนันติ,ปฏิภาน กล้าหาญ,กานต์ณัฐ เสมอใจ
ทีมบาส ไทย ได้รับการยอมรับว่ามีผู้เล่นท้องถิ่นที่มีคุณภาพดีสุด เมื่อเปรียบเทียบกับ
ชาติ อาเซียน ด้วยกันยกเว้น ฟิลิบปินส์ ที่เหลือคงต้องตามดูกันว่าพวกเขาจะทำผลงานได้ดี
แค่ไหนในรายการนี้
ทีม ไทย ชุดนี้ได้รับการยอมรับว่ามีการผสมผสานที่ลงตัวไม่ว่าเป็นเรื่องของ ความแข็ง
แกร่ง,พละกำลัง,ความแม่นยำ และสรีระ นำโดยโค้ชชาว อังกฤษ ทิม ลูอิส ที่ได้เรียนรู้และ
ซึมซับว่าจะแก้ไขจุดอ่อนของ ไทย ในตรงไหนบ้าง อย่างไรก็ตามการที่ต้องมาเล่นยังบ้าน
ของ ฟิลิบปินส์ หนีไม่พ้นที่ทีม ไทย จะถูกมองว่ายังเป็นรอง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโค้ช ลูอิส
และผู้เล่นทุกคนจะต้องพิสูจน์ตนเองให้ได้
อินโดนีเซีย
ผลงานดีสุด : แชมป์ 1996
ปี 2015 : อันดับ 4
ผู้เล่นกำลังสำคัญ : มารีโอ วูแซงค์,อาร์คิ วิสนู,จามาร์ จอห์นสัน
IPL หรือ Indonesia pro league คือ สิ่งที่ทำให้ทีมบาส อินโดนีเซีย พร้อมแล้วจะ
เป็นอีกทีมที่ก้าวขึ้นมาท้าทาย Gilas Pilipinas ผู้เล่นอย่าง จามาร์ จอห์นสัน เจ้าของความ
สูง 1 ม.96 ซ.ม. คือ คนที่จะพา อินโดนีเซีย เดินหน้าสู่ความสำเร็จ
เหมือนกับ ไทย ทีมบาส อินโดนีเซีย มีการผสมกลมกลืนที่ลงตัวไม่ว่าเป็นเรื่อง สรี
ระ,ความเร็ว,ความแม่นยำในการชู้ต และประสบการณ์ จอห์นสัน ได้คู่หูลูกครึ่ง อินโดนีเซีย
&อเมริกัน อาร์คิ วิสนู นอกเหนือจาก มารีโอ วูแซงค์ ที่มีความเร็วหาตัวจับยากทั้ง 3 พร้อม
จะเผิชญหน้ากับเจ้าบ้านเสมอเมื่อเจอกันในนัดชิง












