

SPORTS MANIA

ทีม Q1 Q2 Q3 Q4 ผล Q1 Q2 Q3 Q4 ทีม
ไทย 15 21 19 19 ชนะ 74-67 25 16 8 18 มาเลเซีย
ไทย 22 18 19 17 ชนะ 76-49 4 16 16 13 เวียดนาม
ไทย 18 11 10 20 แพ้ 59-60 11 15 19 15 อินโดนีเซีย
ไทย 28 19 31 24 ชนะ 102-35 11 8 6 10 เมียนมาร์
ไทย 14 12 17 10 แพ้ 53-108 18 33 29 28 ฟิลิบปินส์
ไทย 22 16 21 8 ชนะ 67-57 16 18 17 6 สิงคโปร
ที่ Mono 29 : ผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อยกับบาสรายการ SEABA Championship 2017 โดยแชมป์ตกเป็น ของเจ้าภาพ ฟิลิบปินส์ ที่ขนผู้เล่นชุดใหญ่มาเปิดหูเปิดตาให้แฟนบาสเพื่อนบ้านแทบ อาเซียน ได้เห็นแสดง ศักยภาพว่า Gilas Pilipinas ห่างจากเพื่อนบ้านด้วยกันแค่ไหน ขณะทางด้านทีมบาสชาย ไทย สอบตกสนิท
ถ้าเปรียบเทียบทีมบาส ไทย ชุดนี้กับรายการ SEABA Stankovic Cup ครั้งล่าสุดปี 2016 ซึ่งแข่งยังบ้านเราสนาม Mono 29 และ แพ้ต่อ ฟิลิบปินส์ ไปทั้ง 2 นัดได้แค่รองแชมป์ ถือว่าพร้อมกว่านั้นคือ รายการแรกที่โค้ชชาว อังกฤษ ทิม ลูอิส เข้ามาเปิดตัวทำหน้าที่อย่าง เป็นทางการ เหตุผลที่บอกว่าชุดนี้พร้อมกว่าเพราะ ณ ช่วงเวลานั้นวงการบาสบ้านเรามีแค่รายการ TBL รายการเดียวเป็นเวทีให้นักบาสบ้าน เราได้ลงทดสอบฝีมือ และก็เป็นช่วงระยะเวลาสั้น 2-3 เดือนเท่านั้น
แต่สำหรับชุดนี้ถือว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ได้เปรียบ หลังสมาคมบาสเกตบอลจับมือร่วมกับกลุ่ม Mono ผลักดันให้วงการบาสบ้านเรา เป็นรูปธรรมมากขึ้น ด้วยการวางโปรแกรมให้รายการแข่งขันมีตั้งแต่ต้นจนถึงปลายปี เริ่มที่ GSB TBSL จากนั้นก็มา TBL ต่อด้วย ลีกผู้เล่น สำรอง และจบที่ระดับมหาวิทยาลัย 4 รายการที่ว่าจะทำให้นักบาสได้มีเวลาเพาะบ่มฝีมือให้แก่กล้าเขยิบความสามา
รถของตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่ทีมชาติต่อไป
กลับมาที่ทีมชาติ ไทย ชุดนี้กันอีกครั้งผู้เล่นทั้ง 12 คนที่ถูกเลือก มีโอกาสได้ลงแข่ง GSB TBSL เรียกความฟิต แค่นั้นยังไม่พอ 1 อาทิตย์ก่อนหน้าเดินทางทีมชุดนี้มีโอกาสลงอุ่นเครื่องกับทีมจาก เกาหลีใต้,จีน และไต้หวัน แม้อาจไม่ใช้สโมสรระดับต้น ๆ ของชาตินั้น ๆ แต่ก็ถือเป็นโอกาสได้ซ้อมแผนที่โค้ช ลูอิส เตรียมไว้ นอกเหนือจากแชมป์ GSB TBSL อย่าง โมโน แวมไพร์ ที่กลายร่างผสมร่วมกับผู้เล่น โมโน ทิวฯ ด้วย เรียกได้ว่าชุดลงแข่ง SEABA Championship มองในแง่มุมไหนก็พร้อมว่าชุด Stankovic Cup ที่มีโอกาสได้อุ่นเครื่องแต่กลับทำผลงานได้น่าผิดหวัง และนี่คือ รายชื่อของทั้ง 2 ทีม
Stankovic Cup SEABA Championship
ณกรณ์ ใจสนุก ณกรณ์ ใจสนุก
ชนะชนม์ กล้าหาญ ชนะชนม์ กล้าหาญ
ธีรวัฒน์ จันทะจร ธีรวัฒน์ จันทะจร
ชิดชัย อนันติ ชิดชัย อนันติ
กานต์ณัฐ เสมอใจ กานต์ณัฐ เสมอใจ
ปฏิภาน กล้าหาญ ปฏิภาน กล้าหาญ
สุขเดฟ โคเคอร์ สุขเดฟ โคเคอร์
จิตรพล โตเวโรจน์ วุฒิพงศ์ ดาโสม
ไพรัช เศกธีระ ณัฐกานต์ เมืองบุญ
อรรถพร เลิศมาลัยภรณ์ นราธิป บุญเสริม
ด ดรงพันธ์ อภิรมย์วิไลชัย อนุรักษ์ รอดเลี้ยง
บัณฑิต หลักหาญ โสฬส สุนทรศิริ
โสฬส M P FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เมียนมาร์ 22:37 2 1/3-33.3% 1/3-33.3 - 0/3 0-5-5 5 1 3 1-0
เวียดนาม 28:26 7 3/9-33.3 2/5-40 1/4-25 - 1-2-3 6 - 3 2-0
อินโดนีเซีย 21:33 4 2/3-66.7 2/3-66.7 - - 0-5-5 3 1 4 1-0
มาเลเซีย * 28:55 5 2/7-28.6 2/6-33.3 0/1 1/3-33.3 2-6-8 10 1 7 3-0
ฟิลิบปินส์ 21:29 4 2/6-33 2/5-40 0/1 - 0-2-2 1 1 4 -
สิงคโปร 22:43 3 1/3-33.3 0/2 1/1 - 0-2-2 2 2 2 -
ณกรณ์ M P FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เมียนมาร์ 7:13 - 0/1 - 0/1 - 0-2-2 - - - -
เวียดนาม * 28:46 9 3-16-18.8 0-3 3-13-23.1 - 2-2-4 3 - 1 1-1
อินโดนีเซีย 14:43 - 0-4 - 0-4 - 1-3-4 - - 2 2-2
มาเลเซีย * 35:45 15 7-21-33.3 6-9-66.7 1-12-8.3 - 1-5-6 4 - 1 6-0
ฟิลิบปินส์ 17:54 - 0-4 0-1 0-3 - - - - 1 -
สิงคโปร 15:12 5 2-6-33.3 1-2-50 1-4-25 - 0-2-2 - 1 - 0-1
ชนะชนม์ M P FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เมียนมาร์ * 8:42 - 0/4 0/4 - - 2-1-3 1 1 1 -
เวียดนาม 14:01 2 1-2-50 1-1 0-1 - 2-2-4 3 - 1 1-1
อินโดนีเซีย * 15:42 5 1-2-50 - 1-2-50 2-4-50 2-2-4 1 2 - --
มาเลเซีย Did not play
ฟิลิบปินส์ * 18:53 2 1-5-20 1-4-25 0-1 - 3-3-6 3 4 1 -
สิงคโปร 23:40 3 1-3-33.3 1-1 0-2 1-1 0-3-3 - 1 1 -
สุขเดฟ M P FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เมียนมาร์ 21:34 9 3-4-75 3-4 - 3-4-75 3-5-8 2 2 2 -
เวียดนาม 21:44 9 2-5-40 2-5-40 - 5-5 2-4-6 1 4 2 2-0
อินโดนีเซีย 17:26 - 0-2 0-2 - - 1-3-4 - 1 1 --
มาเลเซีย 10:30 6 2-5-40 2-5-40 - 2-2 5-4-9 - 2 1 -
ฟิลิบปินส์ 20:27 6 2-3-66.7 2-3-66.7 - 2-2 1-2-3 - 3 - -
สิงคโปร 14:50 2 0-2 0-2 - 2-2 0-3-3 1 3 2 -
นัตการ M P FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เมียนมาร์ * 21:52 12 4/7-57.1 4/4-100 0/3 4/6-66.7 1-6-7 1 - 2 -
เวียดนาม * 23:43 1 0-7 0-2 0-5 1-2 2-4-6 3 2 - -
อินโดนีเซีย * 25:02 3 1-4-25 0-1 1-3-33.3 - 1-2-3 4 1 5 --
มาเลเซีย Did not play
ฟิลิบปินส์ * 24:28 7 3-11-27.3 2-5-40 1-6-16.7 0-1 1-1-2 1 2 1 1-0
สิงคโปร * 27:07 8 3-6-50 1-1 2-5-40 - 0-2-2 2 2 3 1-1
ปฏิภาน M P FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เมียนมาร์ * 32:50 11 4/11-36.4 4/11-36.4 - 3/5-60 6-5-11 1 1 1 1-2
เวียดนาม * 5:44 4 1-1 1-1 - 2-2 1-0-1 - - - -
อินโดนีเซีย 29:31 10 1-4-25 1-4-25 - 8-8-100 2-2-4 3 1 1 1-3
มาเลเซีย * 8:28 2 1-2-50 1-2-50 - - 1-2-3 - - 1 0-1
ฟิลิบปินส์ * 20:01 7 3-6-50 2-4-50 1-2-50 - - 1 4 3 1-0
สิงคโปร * 27:17 10 5-9-55.6 5-9-55.6 - 0-1 3-7-10 - 2 2 0-1
ธีรวัฒน์ M P FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เมียนมาร์ * 20:38 8 3/7-42.9 3/7-42.9 - 2/2 3-2-5 1 2 1 -
เวียดนาม * 14:35 9 4-4 4-4 - 1-1 1-3-4 1 2 2 1-0
อินโดนีเซีย * 21:23 6 3-6-50 3-6-50 - - 1-10-11 1 - 1 1-0
มาเลเซีย * 6:16 8 3-4-75 3-4-75 - 2-2 4-1-5 - - 0 0-1
ฟิลิบปินส์ * 24:37 16 7-15-46.7 7-14-50 0-1 2-4 4-3-7 1 - 1 1-0
สิงคโปร * 14:11 4 2-5-40 2-5-40 - 0-2 3-1-4 - 4 2 0-1
วุฒิพงศ์ M P FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เมียนมาร์ 09:17 2 1/520 1-4-25% 0/1 - 0-1-1 - - 3 -
เวียดนาม 14:53 11 5-8-62.5 5-6-83.3 0-2 1-1 1-1-2 - - - 1-0
อินโดนีเซีย * 8:37 2 0-2 0-1 0-1 2-2 -- 1 - - -
มาเลเซีย 31:00 40 19-25-76 19-24-79.2 0-1 2-6-33.3 5-6-11 - - - 1-1
ฟิลิบปินส์ 9:40 2 1-4-25 1-3-33.3 0-1 2-4 4-3-7 1 - 1 1-0
สิงคโปร Did not play
ชิดชัย M P FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เมียนมาร์ 31:43 24 4/16-25 2/10-20 2/6-33.3 14/17-82.4 1-7-8 3 - 4 1-0
เวียดนาม Did not play
อินโดนีเซีย * 31:01 24 10-22-45.5 9-17-52.9 1-5-20 3-3 2-3-5 1 2 5 --
มาเลเซีย Did not play
ฟิลิบปินส์ * 15:15 - 0-2 - 0-2 - - - 1 1 1-0
สิงคโปร * 22:44 17 6-6-66.7 4-6-66.7 2-3-66.7 3-4-75 0-2-2 3 - 2 1-0
กานต์ณัฐ M P FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เมียนมาร์ 23:28 9 1-4-25 - 1-4-25 3-650% 1-2-3 3 2 1 -
เวียดนาม * 16:08 14 5-8-62.5 1-3-33.3 4-5-80 - 0-1-1 4 - 3 1-0
อินโดนีเซีย 14:57 5 1-4-25 - 1-4-25 2-2 0-3-3 1 - 3 -
มาเลเซีย 10:04 3 1-3-33.3 0-1 1-2-50 - 0-1-1 1 - 1 1-0
ฟิลิบปินส์ 13:29 7 3-5-60 2-3-66.7 1-2-50 - 0-1-1 2 1 1 -
สิงคโปร * 32:11 15 6-11-54.5 6-9-66.7 0-2 3-4-75 1-3-4 2 3 1 -
อนุรักษ์ M P FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เวียดนาม 20:13 10 5-8-62.5 5-7-71.4 0-1 - 3-7-10 - 1 2 2-2
มาเลเซีย 33:56 10 4-6-66.7 4-6-66.7 - 2-2 3-5-8 3 - 3 4-2
ฟิลิบปินส์ 10:00 - 0-4 0-3 0-1 0-3-3 1 2 4 -
นราธิป M P FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เมียนมาร์ * 34:04 13 6-18-33.3 6-13-46.2 0-5 1-2-50 3-3-6 4 1 0 0-4
ฟิลิบปินส์ 3:42 2 1-2-50 -2-50 - - 2-1-3 - - 2 0-1
สถิติในการแข่งขันทัั้ง 6 นัด
FG 2 3 FT O-D-R A PF To S-B
เมียนมาร์ 45-91-49.5 43-70-61.4 2-21-9.5 10-17-58.8 26-36-62 22 4 15 15-9
เวียดนาม 29-71-40.8 21-39-53.9 8-32-25 10-11-90.9 14-29-43 22 10 17 12-3
อินโดนีเซีย 19-53-35.8 15-34-44.1 4-19-21.1 17-19-89.5 12-37-49 15 10 23 5-5
มาเลเซีย 21/62-33.9 18/47-38.3 3/15-20 29/43-67.4 19-40-59 17 9 18 3-2
ฟิลิบปินส์ 23-67-34.3 20-47-42.6 3-20-15 4-7-1 13-20-33 10 18 19 4-2
สิงคโปร 26-54-48.1 20-37-54.1 6-17-35.3 6-14-64.3 7-28-35 10 18 16 2-4
หมายเหตุ : *= ตัวจริง,A=assists,PF=ฟาวล์TO=tornovers,S=ขโมย,B=บล็อค
จาก Stankovic สู่ SEABA Championship สิ่งหนึ่งที่ตามหลอกหลอนทีมชาติ ไทย มาจนถึงทุกวันนี้คือ การเสีย Turnovers ที่ กำลังกลายเป็นเชื้อร้ายกัดกินทีม ไทย ปิดหนทางสู่ฝันที่วางไว้ ครั้งนี้ที่ ฟิลิบปินส์ จำนวน 6 นัดที่ลงแข่งเราเสีย turnovers ไป 108 หน หรือเฉลี่ย 18 ครั้งต่อเกมหรือ 4.5 ครั้งต่อ ควอเตอร์ ขณะเดียวกันก็เสียไป 91 คะแนนจากการเสีย turnovers ที่ว่าตกเฉลี่ย 15.1 คะแนน ต่อเกมหรือ 3.75 คะแนนต่อควอเตอร์ และเมื่อย้อนกลับไปที่รายการ Stankovic Cup แม้แข่งน้อยกว่า 1 นัด (เนื่องจากมีแค่ 5 ทีมเท่านั้น ขาด เมียนมาร์) แต่ตัวเลขสถิติแทบไม่ต่างกันเลย
Turnovers ครั้ง G/A Q/A P P/G P/Q
Stankovic Cup 108 18 4.5 91 15.1 3.777
SEABA Championship 105 21 5.25 75 15 3.75
คำถามที่ตามมาคือ เกิดอะไรขึ้น ด้วยเหตุใดทำไมทีมบาส ไทย ถึงไม่สามารถลดการ turnovers ได้ นั้นกลายเป็นคำถามที่ค้างคาใจ แฟนคลับหลายคนเพราะ ถ้าขืนยังเป็นเช่นนี้ต่อไปอย่าฝันว่าแซงหน้า ฟิลิบปินส์ ขึ้นไปเป็นเบอร์ 1 อาเซียน ดีไม่ดีอาจถูกคู่แข่งอย่าง อินโดนีเซีย,มาเลเซีย,สิงคโปร หรือแม้แต่ เวียดนาม แซงหน้าไปก็เป็นได้
นั้นเป็นแค่ 1 ในปัญหาหลาย ๆ อย่างที่ทีมชาติ ไทย ต้องเร่งแก้ไขก่อนถึงการแข่งขัน ซีเกมส์ ที่ มาเลเซีย นอกเหนือจากเรื่อง turnovers ยังมีเรื่องของความ แข็งแกร่ง ที่ต้องรีบแก้ไขทุกวันนี้นักบาส ไทย ส่วนใหญ่ ‘ช่วงล่าง’ ไม่มั่นคง ขณะที่ ‘ส่วนบน’ ก็ขาดความ แข็งแกร่ง นอกเหนือจากกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ที่ถูกเมินเฉย ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช้เรื่องแปลกที่ โสฬส สุนทรศิริ ถึงถูก จิโอวานี่ ยาลาลอน กระชากหาย และทำไม ปฏิภาน กล้าหาญ ถึงกระดอนกระเด็นไม่ท่าเมื่อขึ้นแย้งรีบาวด์กับผู้เล่น ฟิลิบปินส์ บางคนที่ทั้ง เตี้ยและเบากว่า
นี่ยังไม่นับรวมรูปแบบการบุกที่ดูเหมือนทีม ไทย ยังไม่รู้ตัวจากกราฟการชู้ต หรือ shot chart จะเห็นได้ว่า การบุกของเราหนักขึ้น ทาง ‘ขวา’ มากกว่า ‘ซ้าย’ หรือแทบกล่าวได้ว่า เทไปข้างเดียวเลยก็ว่าได้ เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ นักบาสไทยเกือบหรืออาจทั้งทีม ถนัด ‘ขวา’ ด้วยเหตุนี้ทุกอย่างจึงเป็นไปธรรมชาติที่ควรจะเป็น แต่นั้นใช้ไม่ได้กับการแข่งขันกีฬาโดยเฉพาะประเภททีม ขณะที่ ฟุตบอล ต้องหา เท้าซ้ายธรรมชาติ หรื อวอลเลย์บอล มุ่งมั่นหาคนที่ตบซ้ายได้ แต่สำหรับวงการบาสบ้านเราดูเหมือนยังมองข้ามตรงนี้ไป
ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช้เรื่องแปลกอีกเช่นกันว่าทำไม เรา ถึงชนะ มาเลเซีย และสิงคโปร ไม่ขาดแต่กลับแพ้ อินโดฯ แบบเฉียดฉิว ก่อนมา ถูก ฟิลิบปินส์ ยำแบบไม่ไว้หน้า ในเมื่อเรามีข้อจำกัดในการเล่นอยู่ ซึ่งถ้าคู่แข่งศึกษาเราอย่างดีจึงไม่ใช้เรื่องแปลกที่จะผลการแข่งขันจะ ออกมาทำนองนั้น
อย่างไรก็ตามใช้ว่าทีมบาส ไทย ชุดนี้จะไม่มีข้อดีเสียเลย อย่างน้อยสิ่งที่โค้ช ลูอิส ได้ปลูกฝังเอาไว้กับวินัยในเกมรับ ทำให้เราก็ยังมี อะไรดี ๆ อยู่บ้างให้พูดถึง จากการบอกเล่าของผู้ช่วยโค้ช ปิยะพงษ์ พิรุณ โค้ช ลูอิส เป็นโค้ชคนแรกที่เขาเคยสัมผัสมาที่ เรียกนักกีฬามา ‘สอบ’ ว่าเข้าใจในสิ่งที่เขาป้อนให้แค่ไหน ด้วยการวาดแผนภูมิตำแหน่งและถามผู้เล่นรายคนว่าถ้าเพื่อน หรือบอล เคลื่อนไปอยู่จุดนี้จุดนั้น ตัวของนักกีฬาคนนั้น ๆ จะต้องไปอยู่ในตำแหน่งไหน นั้นคือ เหตุผลว่าทำไม ! การวิ่งยามตั้งรับของทีม ไทย ชุดนี้จึงดูกลมกลืนมีรูปแบบ สวยงามและเกิดความผิดพลาดหรือการหลงตำแหน่งน้อยมาก
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด เรายังมีเวลาอีก 3 เดือนก่อนถึงการแข่งขัน ซีเกมส์ ที่ มาเลเซีย เมื่อถึงเวลานั้นข้อผิดพลาดหลาย ๆ อย่างที่เกิด ขึ้นในรายการ SEABA Championship น่าได้รับการแก้ไขลงบ้างไม่มากก็น้อย ณ เวลานี้นักบาสชุดนี้จะต้องกลับมารับใช้ต้นสังกัดเพื่อไล่ ล่าแชมป์ GSB TBL ฤดูกาล 2017 ต่อ แถมครั้งนี้ พวกเขาจะได้พบกับบททดสอบที่หนักขึ้นไปอีกเพราะ นอกเหนือจาก เร็คจี้ จอห์นสัน เจ้าของความสูง 6 ฟุต 10 หรือ 2.8 ม.กับอีก 300 ปอนด์ C ของ โมโน แวมไพร์ กับแอนโธนี่ แม็คเคลน เจ้าของความสูง 7 ฟุตและหนัก 300 กว่าปอนด์ C ของ โมโน ทิวฯ แล้ว
ในฤดูกาลนี้ TBL ยังได้ยักษ์คนใหม่ ซามูเอล ดิกัวรา C ชาว มอลตา เจ้าของความสูง 7 ฟุต 5 หรือ 2.25 ม.ที่เล่นให้กับ การไฟฟ้าส่วน ภูมิภาค และ ดาเนี่ยล ออร์ตัน อดีตผู้เล่นของ ออร์แลนโด เมจิก,ฟิลาเดียเฟีย 76ers และวอชิงตัน วิซาร์ดส์ ทีมใน NBA ของ ไฮเทค มา โลดแล่นในบาสลีกอาชีพบ้านเราให้แฟน ๆ ได้ชมกันถึงขอบสนามทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ ที่สนามที่ Mono 29 ตั้งแต่ 10 โมงเช้าถึง 17:30 น. แฟนบาสท่านใดสนใจก็ไปชมที่สนามได้เลย







