top of page


SPORTS MANIA


กีฬาทุกประเภทต่างมี ‘ชุดแข่ง’ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองไม่ยกเว้นบาส NBA แต่ถึงแม้มีคนกล่าวว่า ชุดแข่ง บาส จะเป็น รองในเรื่องของความนิยมเมื่อเทียบกับกีฬา เบสบอล,ฟุตบอล หรือไฮซ์ฮ็อคกี้ อย่างไรก็ตามได้มีการจัดอันดับชุดแข่ง NBA ที่ติด ท็อป 10 จากอดีตถึงปัจจุบันไว้ มาดูกันว่าตรงกับใจของแฟนคลับบาส NBA หรือไม่
1>ซานฟรานซิสโก วอร์ริเออร์ส ปลายทศวรรษ 1960........หลาย
คนบอกว่าภาพสะพาน Golden Gate Bridge ที่อยู่ด้านหน้าเสื้อ บ่ง บอกทุกอย่างของเมืองและ วอร์ริเออร์ส ได้หมดและนั้นก็เป็นจุดขาย
ที่ยืนยงมาจนถึงทุกวันนี้
2> นิวยอร์ก เน็ตส์ กลางทศวรรษ 1970.......ลายธงชาติ
สหรัฐ ที่พาดยาวข้างลำตัวลงมาของชุดแข่ง เน็ตส์ ยุค
นั้นกลายเป็นลายยอดนิยมของชุดกีฬาอีกหลายประเภท
ที่ลอกเลียนแบบนำไปใช้จนถึงทุกวันนี้ แต่หลายคนกล่าว
ว่า คนที่ใส่ชุดแข่ง เน็ตส์ ยุคนั้นดูแล้วมีเสนห์มากสุดคง
ไม่หนี Dr.J (จูเลียส เออร์วิ่งค์)
3> แอตแลนตา ฮอว์คส์ ทศวรรษ 1980........ฮอว์คส์ ใช้
เวลาปีกว่าก่อนตัดสินใจใส่ชื่อบนพื้นแถบสีขาวบนหน้าอก
ก่อนปลายทศวรรษ 1990 จะเปลี่ยนใจไปเป็น นกเหยี่ยว
แทน อย่างไรก็ตาม หลายคนยกให้ชุดแข่ง ฮอว์คส์ ใน
ทศวรรษ 1980 ที่ใช้พื้นสีแดงเป็นการออกแบบที่โดนใจใคร
! หลาย ๆ คนมากสุด
4> บอสตัน เซลติคส์ ตลอดกาล.......บางครั้งชุดแข่งใช้
ว่าจำเป็นที่ต้องใช้พื้นสีเสมอไป การใช้พื้นสีขาวก็ดูคลาส
สิคได้เช่นกัน เหมือน เซลติคส์ ต้องการสื่อให้ทุกคนเห็น
ที่มีแค่ ชื่อทีม กับเบอร์เสื้อ เท่านั้นที่เป็นสีเขียวบนพื้นสี
แต่เมื่อผู้เล่นอย่าง บิลล์ รัสเซลล์,ลาร์รีย์ เบิร์ด หรือไอเซห์
โทมาส ใส่แล้วกลับมีมนต์ขลังไม่น้อยเลย
5> วอชิงตัน วิซาร์ดส์ ทศวรรษ 1970.......วิซาร์ดส์ ตัด
สินใจฉีกแนวใช่ แถบสีในแนวนอนพร้อมโลโก้ มือ 2 ข้าง
กำลังชูลูกบอลไว้ ว่ากันว่าชุดแข่งในยุคนั้นของ วิซาร์ดส์
สวย,คลาสสิค เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่หลายคนบอกว่าสู้
ของช่วง 1970 ไม่ได้เลย
6>อินเดียนา เพเซอร์ส ปลายทศวรรษ 1970........เพเซอร์ส เลือกใช้แถบสี 3 เส้น ซึ่งดูแล้วปรกติแต่อีกด้านดู ‘ดุดัน’
ซึ่งลายแบบนี้ไปตรงกับ ฮอว์คส์ โดยบังเอิญ อย่างไรก็ตาม กลับดูดีกว่าเมื่ออยู่บนเสื้อของ อินเดียนา ก็ด้วยเหตุผลว่า
ที่ พื้นสีขาวของเสื้อปล่อยให้แถบทั้ง 3 เส้นแสดงความโดด
เด่นของตนเองออกมาไม่ขัดซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นลาย ที่ว่านี้ยังถูกนำไปใช้กับชุดของนักขับ อินดี้ 500 ด้วย
7>เดนเวอร์ นัคเกตส์ ทศวรรษ 1980........คงไม่มีทีม ! ไหนหน้าใหญ่ใจกล้ากว่า นัคเกตส์ ในช่วงทศวรรษ 80 อีกแล้ว ที่ใจกล้าบ้าบิ่นเพิ่มขนาดเบอร์เสื้อใหญ่ขึ้นจนเด่นชัด ซึ่งเหตุผล ที่ทำเช่นนั้นก็เพราะว่า นัคเกตส์ ต้องการลดโทนสีหรือความโดดเด่นของเฉดสี ‘สายรุ้ง’ลง บ้างนั้นเอง
8>ซีแอตเติล ซูเปอร์โซนิคส์ ปลายทศวรรษ
1970........เมื่อพูดถึงการใช้พื้นสีขาวยืนพื้นและ
ใช้สีอื่นตัด โซนิคส์ ได้รับการยอมรับว่าออก
แบบสีเสื้อได้ลงตัวทีมหนึ่ง พวกเขาใส่ชื่อทีมลง
ไปบนแถบสีเขียวขอบทองบนหน้าอก น่าเสีย
ดายที่ลวดลายคลาสสิคแบบนี้กลับถูกเมิน หลัง
พวกเขาย้ายไป โอกลาโฮมา ที่เปลี่ยนชื่อเป็น
ธันเดอร์ หลังจากนั้น
9> ฟีนิกซ์ ซันส์ ปัจจุบัน.......นี่อาจเป็นชุดแข่งที่สร้างความประหลาดไม่น้อย หลัง
ซันส์ เปิดตัวชุดแข่งที่ว่าในปี 2013 โดยภาพรวมแล้วยังคล้ายชุดแข่งช่วงทศวรรษ 1990 แต่
ลดโทนสีให้อ่อนลงมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้นและตัดลูกบาสซึ่งถือเป็นตัวแทนของ
‘พระอาทิตย์’ ออกไป อย่างไรก็ตาม ซันส์ กลายเป็นทีมการตลาดชั้นเซียนของ NBA ไป
เป็นที่เรียบร้อย เมื่อพวกเขาได้ออกแบบชุดแข่งรวดเดียว 6 แบบให้แฟนคลับได้ซื้อไปเก็บ
ให้จุใจเลยเช่นกัน
10> ปอร์ตแลนด์ เทรล เบเซอร์ส ทศวรรษ 1980
..... มีไม่บ่อยนักที่จะเห็นชุดแข่ง ใช้แถบหลายสีบน
ตัวเสื้อ แต่ไม่ใช้สำหรับ ปอร์ตแลนด์ ที่พวกเขาเลือกจะใช้ หลังใช้เวลาปีกว่าในการทดลองใช้ แถบสีต่าง ๆ ลงไปทุกแห่งบนตัวเสื้อในที่สุด ปอร์ตแลนด์ ก็ตัดสินใจได้ว่าแถบ 2 สีที่ควรวาง ไว้มากสุดก็คือ ด้านล่างของเสื้อพาดจากขวามาซ้ายนั้นเอง




















bottom of page